วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552

มารยาทในที่ทำงาน


ควรทำตัวอย่างไรในการแนะนำตัว

คุณควรรอให้อนุญาตให้นั่งเสียก่อนแล้วจึงนั่งลง หากได้รับคำถามว่าดื่มชา กาแฟมั้ยก็ควรตอบรับเพื่อช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น ที่สำคัญคืออย่าไปสาย ควรตรงต่อเวลาและให้เวลากับการแนะนำตัวเองอย่างไม่จำกัดเวลาแม้ว่าคุณอาจพลาดกับรถเที่ยวต่อไปก็ตาม เพราะหากคุณบอกว่า "ดิฉันต้องไปแล้วค่ะ" นั่นอาจหมายถึงว่าคุณต้องลาจากชั่วนิรันดร์

พนักงานใหม่ควรวางตัวอย่างไร

หากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดีกับผู้ร่วมงานในที่ทำงานใหม่ก็อย่าเพิ่งกังวล คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองทันที แรกๆ คุณควรศึกษากฎระเบียบเสียก่อนและสังเกตุขนบธรรมเนียมและมารยาทในที่ทำงานใหม่เพราะคุณอาจทำงานได้ดีมากแต่อาจทำผิดสังคมในที่ทำงานได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเลี้ยงฉลองอะไรในวันแรก แต่ให้ผ่านช่วงทดลองงานไปก่อน

ทำอย่างไรดีกับเพื่อนร่วมงาน

คุณจัดการกับโต๊ะทำงานของตัวเองได้ แต่ไม่ควรยุ่งกับโต๊ะทำงานของคนอื่น และไม่ควรเอาของใช้ เช่น กระเป๋าหรือสิ่งของไปวางในพื้นที่ทำงานแม้ว่าคุณอยากจะโชว์ให้เพื่อนร่วมงานเห็นก็ตาม นอกจากนี้ความเครียดจะเกิดขึ้นถ้าคุณเอาตัวไปเบียดใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานเพราะมนุษย์ส่วนมากมักมีความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ห่างกันหนึ่งช่วงแขน กฎในออฟฟิศอีกอย่างก็คือ เมื่อคุณจะไอหรือจามก็ควรออกนอกห้อง

หลีกหนีเพื่อนร่วมงานจอมเมาท์อย่างไรดี

ขณะที่คุณกำลังคุยโทรศัพท์อยู่แล้วเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเข้ามาป้วนเปี้ยนในห้องคุณและคอยจับผิด ให้คุณถามว่า มีอะไรให้ช่วยมั้ยคะ หรือบอกว่า เดี๋ยวคุณจะตามไป หรือบอกไปว่าคุณกำลังสะสางงานอย่างเร่งด่วนอยู่ หากคุณเห็นว่าไม่เหมาะที่จะทำตัวสนิทสนมด้วยก็ให้รักษาระยะห่างไว้

จำเป็นต้องไปสรวลเสเฮฮาหลังเลิกงานด้วยมั้ย

หากเพื่อนร่วมงานชวนคุณไปดื่มหรือเข้าร้านอาหารหลังเลิกงาน แต่คุณไปไม่ได้ก็ควรกล่าวคำขอโทษ เช่น "ขอบคุณที่ชวนนะคะ แต่บังเอิญติดธุระ" และหากคุณไปด้วยก็ควรอยู่ด้วยอย่างน้อยที่สุด 15 นาที

ทำอย่างไรดีเมื่อถูกจับได้ว่านินทาคนอื่น

คุณกำลังนินทาเรื่องไม่ดีของผู้ร่วมงานคนหนึ่งอยู่โดยที่เธอยืนอยู่ข้างหลังคุณ ดังนั้นคุณจึงควรกล่าวคำขอโทษและบอกว่า คุณไม่ได้หมายถึงอย่างที่พูดไปเมื่อสักครู่นี้ และแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของคุณด้วยการช่วยเหลือเธอ เปิดเผยและซื่อสัตย์

เจอเพื่อนร่วมงานกลางทาง

ให้คุณเดินไปหาและทักทาย หากคุณไม่แน่ใจว่าเพื่อนร่วมงานอยากจะทักคุณหรือไม่ ก็ให้คุณพยายามสบตาด้วย หากเธอมองไปทางอื่นก็แสดงว่าเธอไม่อยากทักทายคุณ แต่ถ้าคุณอยู่ใกล้ประตูรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็ให้หยุดรอตอนขาลงและทักทายเธอ คุณก็จะได้เพื่อนร่วมทาง หรือหากคุณไม่อยากยุ่งเกี่ยวด้วยก็ต้องขึ้นรถเช้ากว่านี้เพื่อไม่ต้องเจอกัน

ในลิฟต์ บางคนกลัวการอยู่ในที่แคบ เช่น ในลิฟต์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กลัวการอยู่ในที่แคบและเจอผู้ร่วมงานในลิฟต์ก็ควรทักทายแล้วจะหันหน้าไปทางประตูลิฟต์ก็ไม่มีใครว่าและควรถามคนอื่นด้วยว่าอยู่ชั้นไหนแล้วกดลิฟต์ให้ด้วย

ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือเข้าที่ประชุม

เพราะมันมักรบกวนห้องประชุม หากคุณจำเป็นต้องรอโทรศัพท์สำคัญก็ให้บอกกับทางโน้นว่าในช่วงเวลานี้ คุณติดประชุมไม่อาจรับโทรศัพท์ได้ หรือระหว่างพักการประชุมก็โทรศัพท์ไปหาได้ หากคุณตั้งสัญญาณสั่นสะเทือนไว้ ก็ให้ออกไปพูดนอกห้องประชุม

การโต้ตอบอีเมล์

ควรตรวจเช็คและตอบอีเมล์วันละอย่างน้อยที่สุด 2 รอบ ตอนเช้า กลางวันและที่ดีที่สุดคือตอนเย็น หากคุณไม่สามารถตอบได้ทันที ก็ให้ส่งข้อความสั้นๆ ว่าคุณไม่อยู่ 2-3 วัน และบอกด้วยว่าคุณจะอยู่ในออฟฟิศอีกครั้งเมื่อไหร่ นอกจากนี้ก็ควรเขียนอีเมล์อย่างระมัดระวัง ถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาด และบันทึกไว้อย่างมีระเบียบเพื่อที่คุณจะได้หาได้ง่ายเมื่อต้องการค้นหา ไม่ควรใช้คำย่อ มีคำขึ้นต้นและลงท้ายอย่างมีมารยาท

ที่มา :
http://hilight.kapook.com/view/24547

มารยาทในห้องเรียน



มารยาทในห้องเรียนซึ่งมีวิธีปฏิบัติง่ายๆและหลายๆคนก็พอจะรู้จักและปฏิบัติได้ดังนี้

1. ต้องตั้งใจเรียน เป็นการแย่มากๆหากว่าเราจับกลุ่มคุยแข่งกับอาจารย์ที่สอนอยู่หน้าชั้นเรียนหรือสนใจในการอ่านหนังสือการ์ตูนมากกว่าบทเรียนในชั่วโมงทุกคนลองคิดดูว่าอาจารย์ผู้สอนเพียงคนเดียวไม่สามารถตะเบ็งเสียงแข่งได้

2. ไม่รบกวนสมาธิของผู้อื่น ถึงแม้เราจะเบื่อในวิชานั้นๆก็ไม่ควรไปชวนเพื่อนคุยหรือรบกวนใดๆก็แล้วแต่ถ้าเราไม่เข้าใจหรือสงสัยอะไรให้ยกมือถามอย่าไปถามเพื่อนขณะเรียนเพราะเพื่อนอาจเรียนไม่รู้เรื่องเพราะเรา

3. เชื่อฟังคำตักเตือนของอาจารย์ บางครั้งที่เราทำผิดหรือเราอาจจะดื้อรั้นกับอาจารย์ที่สอนอยู่ อาจารย์อาจจะต่อว่า ตักเตือนหรือตีก็ไม่ควรทำอวดดีหรือโต้เถียงใดๆทั้งสิ้น

4. แสดงนำใจต่อเพื่อนๆ บางครั้งเพื่อนของเรามาเรียนไม่ทันหรือขาดเรียนไปเราควรอธิบายวิชาที่เราพอจะสามารถอธิบายใหเพื่อนเราฟังได้ หรือเพื่อนขาดอุปกรณ์การเรียน ถ้าเรามีก็ควรจะแบ่งปัน เพราะในการเรียนเราต้องพึ่งพาอาศัยกันเมื่อทำกิจกรรมต่างๆอยู่แล้ว

5. มีความรับผิดชอบ นอกจากการเรียนในวิชาต่างๆแล้วยังต้องมีแบบฝึกหัดให้เราทดลองและเราจะต้องมีความรับผิดชอบโดยการทำส่งให้ครบตามกำหนดเวลา เพื่อไม่ให้มีนิสัยที่ไม่ดีติดตัว



ที่มา :
http://www.bbznet.com/scripts/view.php?user=imnetworkkmitl&board=2&id=8&c=1&order=numview

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการเรียนเก่ง



ข้อที่ 1 : พกปากกาสี 12 สี ติดตัว

ทฤษฎีสี กล่าวไว้ ว่า สีจะสามารถเพิ่มการจดจำเนื้อหาต่าง ๆ ได้มากกว่า สีน้ำเงินที่เขียนตามปกติ จึงควรซื้อปากกาสีต่าง ๆ ติดตัวไว้ เวลาอ่านหนังสือก็ใช้ปากกาสีในการจดเนื้อหา ของ stabio ก็ดีนะ ทนหลายปีเลยแหล่ะ

สำหรับคนที่กลัวว่าจะจดไม่ทันก็ใช้วิธีจดเฉพาะเนื้อหาสำคัญพร้อมกับบันทึกเสียงไปพร้อม ๆ กัน แค่นี้ก้อสามารถจดจำได้แล้วล่ะ

ข้อที 2 : ใช้สมุด note ที่ไม่มีเส้น

การใช้สมุดnote ที่มีลายเส้นนั้นเหมือนเราอยู่แต่ในกรอบเส้นนั้น แต่ถ้าใช้สมุดnote ที่ไม่มีเส้นนั้นจะทำให้เราไม่มีกรอบในการเขียน เราอยากเขียนอะไรก็อยากเขียนได้ทั้งนั้น ปัจจุบันหาซื้อยาก ต้องลองหาแถว ร้านขายสมุดวาดรูปดูนะ

ข้อที่ 3 : บันทึกงานออกมาในรูป Mind Map Or Pic.

ถ้าเราอ่านหนังสือการ์ตูนตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว กับอ่านหนังสือ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราจะสามารถจดจำการ์ตูนได้มากกว่า เวลาจดเนื้อหาบางอย่างอาจจะจดในรูปแบบ Pic. จะสามารถจดจำได้มากกว่า การบันทึกงานในรูปแบบของ Mind Map จะเป็นการแบ่งเรื่องหัวข้อใหญ่ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการอ่าน อาจใช้ Mind Map เป็นรูปก็ได้

ข้อที่ 4 : Mp3

เราควรจะมี mp3 เพื่อใช้ในการบันทักเสียงเวลาที่คุณครูสอนแต่ไม่สามารถฟังและเก็บเกี่ยวเนื้อหาได้ครบทุกอย่าง หากเราอัดไว้ก็จะสามารถย้อนกลับไปฟังได้ หลาย ๆ ครั้ง ก่อนสอบ

ข้อที่ 5 : เอาใจครู

เอาใจครูในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเอาอกเอาใจครู หมายถึง ทำตัวตามสไตล์ที่คุณครูชอบ เพื่อเพิ่มความชอบของคุณครูในตนเอง เวลาเราชอบครูคนไหนก็อยากเรียนกับครูคนนั้น อยากส่งงาน ครู อยากเจอหน้าครู ก็จะทำให้เรียนเก่งยิ่งขึ้น เพราะ เราอยากเรียนวิชานั้น ๆ

ข้อที่ 6 : พูดคุยกับปากกา

ก่อนสอบ หรือก่อนเขียนงานเราควรพูดคุยกับปากกาบ้าง คุณหนูดี กับ ด็อกเตอร์ ก็ใช้วิธีนี้จนเรียนจบปริญญา

ข้อที่ 7 : นั่งหน้าห้อง

นั่งหน้าห้องจะสามารถทำให้เราได้ยินมากกว่าคนที่นั่งข้างหลังเรา เห็นชัดกว่าคนข้างหลังเราและสามารถถามครูได้มากกว่า ซึ่งมันเป็นที่แน่นอนอยู่แล้ว

ที่มา : http://blog.spu.ac.th/spufcontent5/2008/10/11/entry-14

ประวัติของ Web Blog


Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)

ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง

มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่าBlogเป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่างๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น

จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง

สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัว ออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

ที่มา : http://keng.com/2005/09/30/what-is-blog/